สุขภาพของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจาก 2
สิ่งคือสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวอย่างจุลินทรีย์
สารเคมีและอนุภาคต่างๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “ปัจจัยสัมผัส” (exposome)
ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพเมื่อไหร่ก็ได้
ทำให้นักวิทยาศาสตร์ผุดความคิดในการวัดปัจจัยสัมผัสเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อจะหาหนทางป้องกันได้ทันกาล
เมื่อเร็วๆนี้
นักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด ในสหรัฐอเมริกา
เผยการพัฒนาสร้างอุปกรณ์ตรวจจับอากาศแบบใหม่
เพื่อใช้ค้นคว้าหาข้อมูลทางด้านชีวภาพและทางเคมีที่หมุนวนรอบๆ ร่างกายมนุษย์
โดยใช้เวลา 2 ปีในการเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมวิจัย 15
คนที่เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆกว่า 50 แห่ง อุปกรณ์เล็กๆ
เท่ากล่องไม้ขีดไฟที่แขนนี้ติดตั้งตัวกรองจิ๋วสำหรับดักจับอนุภาคขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
จากนั้นก็จะนำกลับไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อระบุชนิดของสิ่งมีชีวิตและสารเคมี
โดยบางคนได้รับการตรวจสอบเป็นเวลา 1 เดือน บางครั้งก็ 1 สัปดาห์
ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่า
การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายของแบคทีเรีย ไวรัส สารเคมี อนุภาคของพืช
เชื้อรา และแม้แต่สัตว์ขนาดจิ๋วที่ลอยปนเปื้อนอยู่ในอากาศรอบตัวเรา
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวมเป็นฐานของมูลโดยจะทำให้ครอบคลุมมากกว่า 40,000 ชนิด
เพื่อให้สามารถรับรู้
ถึงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม
การวัดผลด้วยวิธีการนี้ต้องการจำนวนผู้ร่วมทดลองมากและในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายมากขึ้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น