วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

สารอันตราย




พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. สนธิกำลังสาธารณสุข จ.เชียงราย เข้าค้นพื้นที่เป้าหมายที่คาดเป็นแหล่งเก็บสาร “ไซบูทรามีน” ต้นตอผลิตยาลดความอ้วนมรณะ ภายในตึกแถวข้างตลาดสดบุญยืน ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พร้อมพื้นที่อื่นรวม 12 จุด ยึดสารเคมีสีขาวที่คาดว่าเป็นสารอันตรายนำไปตรวจสอบ
ที่มา .www.thairath.co.th

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

จำกัดการใช้ 3 สารเคมีเกษตร จะซื้อจะขาย ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ


ในที่สุดร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด พาราควอต ไกลโฟเซส และ คลอร์ไพริฟอส ที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้กรมวิชาการเกษตร ไปทำการยกร่างฯ ได้คลอดออกมาเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นกันแล้ว
แต่คณะกรรมการวัตถุอันตราย จะเห็นชอบกับที่จะนำมาใช้ด้วยหรือไม่ ยังเป็นที่ต้องรอกันอีกต่อไป
สรุปสาระสำคัญของร่างฉบับนี้...ได้แยก พาราควอต ไกลโฟเซส และคลอร์ไพริฟอส ให้เป็นสารชนิดพิเศษ ที่แยกออกมาจากสารเคมีทางการเกษตรชนิดอื่นๆ และต้องจัดพื้นที่วางขายแยกจากวัตถุอันตรายชนิดอื่นๆให้เห็นชัดเจน
คนซื้อ คนขาย ร้านค้า คนนำไปใช้ คนรับจ้างพ่น รวมทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า นอกจากจะต้องขออนุญาตพิเศษแล้ว ยังต้องผ่านการอบรม และต้องอบรมทุกๆ 2 ปี
จะไม่สามารถซื้อขายกันได้แบบง่ายๆ เหมือนที่ผ่านมา
ที่สำคัญ สารกำจัดวัชพืช พาราควอต และ ไกลโฟเซส จะใช้ได้เฉพาะกับพืช 6 ชนิด อ้อย, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, มันสำปะหลัง, ข้าวโพด และ ไม้ผล ที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
ส่วนสารกำจัดแมลงศัตรูพืช คลอร์ไพริฟอส ให้ใช้ได้เฉพาะ ไม้ผล ไม้ดอก และ พืชไร่
สารทั้ง 3 ชนิด ห้ามนำไปใช้ในแปลงปลูกผัก พืชสมุนไพร พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่สาธารณะ
ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัด อบต. เป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบการใช้วัตถุอันตราย ทุกอย่างมีผลบังคับใช้ในระยะเวลา 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หลังจากที่ได้เห็นร่างฯที่ออกมา ฟากฝั่งเกษตรกรให้ความเห็นติงในเรื่องกรอบเวลาในการอบรมเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 20 ล้านราย ในระยะเวลา 90 วันคงเป็นไปไม่ได้ จึงเสนอให้กรมวิชาการเกษตรขยายเวลาออกไป เพราะหากบังคับใช้มาแล้วไม่สามารถปฏิบัติได้ เกษตรกรจะมีความผิด
นอกจากนั้น การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัด อบต. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบนั้น บางคนอาจขาดองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม ซ้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการอบรมก่อนปฏิบัติงานจริง หน้าที่นี้จึงสมควรเป็นของบุคลากรกระทรวงเกษตรฯเอง อาทิ เกษตรตำบล เพราะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี
สำคัญที่สุดเรื่องราคา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา หลังกลุ่มเอ็นจีโอมีการขับเคลื่อนให้แบนสารเคมี 3 ชนิด ส่งผลให้สารเคมีดังกล่าวมีราคาแพงขึ้นมาตลอด ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น สูญเสียรายได้ไปปีละ 1,500 ล้านบาท จึงเสนอให้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด เป็นสินค้าที่ต้องมีการควบคุมราคา.

ที่มา : https://www.thairath.co.th

สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง!


จากการศึกษาของ Winthrop University Hospital and Kaiser Permanente Southern California พบว่า แม่ท้องที่มีระดับของสารเคมีพลาสติก (Bisphenol A หรือ BPA) ในโลหิตสูงขึ้น มีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนด
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Ramkumar Menon มหาวิทยาลัย The University of Texas Medical Branch (UTMB) สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ผู้หญิงมีการสัมผัสสาร BPA อย่างต่อเนื่อง เพราะมันใช้ในการผลิตและการเคลือบผิวของภาชนะบรรจุอาหารและมันสามารถปนเปื้อนลงไปในอาหารได้ เมื่อได้รับความร้อนจากเตาไมโครเวฟ หรือแหล่งความร้อนอื่นๆ”
และยังบอกเพิ่มเติมว่า “ในความเป็นจริง BPA ใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้หญิงเกือบทุกคนสัมผัสสารนี้มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่มีสารเหล่านี้อย่างแพร่หลาย และผลการวิจัยของเราที่พบว่า ผู้ป่วยทุกรายมีระดับของการสัมผัส ชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสกับพลาสติกที่มีสาร BPA เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก”
นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบอีกว่า การวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากหญิงตั้งครรภ์เมื่อพวกเขาได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อทำการคลอดบุตร และจากน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ที่เก็บรวบรวมในการคลอด พบระดับความเข้มข้นของสาร BPA เพิ่มขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการคลอดก่อนกำหนด โดยผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine
สารเคมีอีก 3 ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์
1. สารพาทาเลต (Phthalates)
เป็นสารเคมีที่ใช้ในการเพิ่มความทนทาน ความยืดหยุ่น และความโปร่งใสของพลาสติก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสารเคมีที่ขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ หากทารกที่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดมาใหม่ๆ ได้รับสารชนิดนี้จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิง ทำให้เกิดรูผิดปกติที่อวัยวะเพศชาย หรือมีอัณฑะเล็ก ตัวอสุจิน้อย หรือทำให้ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนจากรังไข่ที่ผิดปกติ
2. ยากันยุง ยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ประกอบด้วยยาฆ่าแมลง ที่ใช้ในการทำลายระบบประสาทของแมลงและทำให้แมลงตาย คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบประสาทของลูกน้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
3. สารไตรโคลซาน (Triclosan)
ไตรโคลซานเป็นส่วนผสมที่พบบ่อยในสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน และไตรโคลคาร์บาน เนื่องจากมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารเคมีเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติในด้านพัฒนาการและการเจริญพันธุ์.

ข้อสอบ O-NET ปี 2550


ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน
ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน
ตัวเลือกที่ 3 : คาร์ไบไฮเดรต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดนิวคลีอิก

ข้อที่ 2. ในการปรุงอาหารให้แก่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดใด เพราะเหตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีโปรตีนมากเกินไป
ตัวเลือกที่ 2 : น้ำมันรำ เพราะเกิดกลิ่นเหม็นหืนง่าย
ตัวเลือกที่ 3 : น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
ตัวเลือกที่ 4 : น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก

ข้อที่ 3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : กรดไลโนเลอิก เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ตัวเลือกที่ 2 : ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเลนิก จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดลอก
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
ตัวเลือกที่ 4 : คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตัน

ข้อที่ 4. กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : อาร์จินีน และฮีสติดีน
ตัวเลือกที่ 2 : ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
ตัวเลือกที่ 3 : ไลซีนและลิวซีน
ตัวเลือกที่ 4 : ไอโซลิวซีนและเวลีน


ข้อที่ 5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีน
ตัวเลือกที่ 1 : รักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ทุกชนิด
ตัวเลือกที่ 3 : สร้างอิมมูโนโกลบูลิน
ตัวเลือกที่ 4 : ช่วยละลายวิตามิน A D E K

ข้อที่ 6. สารชนิด เมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไป แล้วเกิดตะกอนสีแดงอิฐ สารชนิด เมื่อหยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนลงไป แล้วเกิดสีน้ำเงิน ข้อใดผิด
ตัวเลือกที่ 1 : A คือ มอโนแซ็กคาไรด์
ตัวเลือกที่ 2 : B สามารถย่อยสลายด้วยเอมไซม์อะไมเลสแล้วจะได้น้ำตาลแลกโตส
ตัวเลือกที่ 3 : เมื่อนำ ไปหมักด้วยยีสต์ จะได้เอทิลแอลกอฮอล์
ตัวเลือกที่ 4 : B เมื่อถูกความร้อนจะสลายเป็นเด็กซ์ตริน มีสมบัติเหนียวแบบกาว

ข้อที่ 7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( DNA)
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำตาลไรโบส
ตัวเลือกที่ 2 : อะดีนีน
ตัวเลือกที่ 3 : หมู่ฟอสเฟต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)

ข้อที่ 8. โครงสร้างของDNA สายหนึ่งมีคู่เบสเป็น A C A G ดังนั้นคู่เบสของ DNA อีกสายคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : A C A G
ตัวเลือกที่ 2 : C A G A
ตัวเลือกที่ 3 : T G T C
ตัวเลือกที่ 4 : G T T C

ข้อที่ 9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ซากพืชซากสัตว์ จะถูกย่อยสลายเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ข. ในการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ จะได้สารที่เป็นแก๊สออกมาก่อน ค. แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ประกอบด้วยแก๊สมีเทนและโพรเพน ง. สารไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะคู่
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 10. น้ำมันชนิดใดเหมาะกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและไม่มีมลพิษ ก. น้ำมันที่มีไอโซออกเทนมากกว่าเฮปเทนมากๆ ข. น้ำมันที่มีการเติมสารเมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์ ค. น้ำมันที่มีเลขออกเทนต่ำกว่า 75 และเติมสารเตตระเมทิลเลต ง. น้ำมันที่มีเลขซีเทนสูงๆ
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 11. ข้อใดเป็นพอลิเมอร์ทั้งหมด
ตัวเลือกที่ 1 : แป้ง เซลลูโลส น้ำตาล
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน พอลิเอทิลีน ยางพารา
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมัน เตตระฟลูออโรเอทิลีน ไวนิลคอลไรด์
ตัวเลือกที่ 4 : ไกลโคเจน ซิลิโคน กลูโคส


ข้อที่ 12. พลาสติกชนิดใดไม่ใช่เทอร์โมพลาสติก
ตัวเลือกที่ 1 : A เป็นพลาสติกที่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
ตัวเลือกที่ 2 : B เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ตัวเลือกที่ 3 : C เป็นพลาสติกที่สมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวเลือกที่ 4 : D เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห

ข้อที่ 13พิจารณาข้อความเกี่ยวกับยางต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ยาง เกิดจากมอนอเมอร์ของธาตุซิลิคอน ข. ยางธรรมชาติ ทนต่อน้ำมันเบนซินและตัวละลายอินทรีย์ ค. การปรับปรุงคุณภาพยางธรรมชาติให้ดีขึ้น โดยนำมาคลุกกับกำมะถัน ง. ยาง SBR เกิดจากมอนอเมอร์ของสไตรีนและบิวทาไดอีน
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 14. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา เรียกว่าปฏิกิริยาดูดความร้อน ข. ฝนกรดที่เกิดบริเวณที่มีการใช้ถ่านหิน จะเกิดจากแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ ค.โอโซน เป็นแก๊สพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตาและทางเดินหายใจ ง. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือผงฟู ใช้ดับไฟป่าได้
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 15. ปฏิกิริยาในข้อใดมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุด

ตัวเลือกที่ 

ตัวเลือกที่ 2 :

ตัวเลือกที่ 3 :
ตัวเลือกที่ 4 :




ข้อที่ 16. จากปฏิกิริยาต่อไปนี้ สาร ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดแก๊สไฮโดรเจน สาร ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก สาร ที่มีสาร พันอยู่ ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้เร็วมากและมีฟองแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้นปริมาณมาก สารชนิดใดทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ตัวเลือกที่ 1 : สาร A
ตัวเลือกที่ 2 : สาร B
ตัวเลือกที่ 3 : กรดไฮโดรคลอริก
ตัวเลือกที่ 4 : แก๊สไฮโดรเจน

ข้อที่ 17. ข้อใดคือสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอน 10 อนุภาค มีจำนวนนิวตรอน12 อนุภาค
ตัวเลือกที่ 1 :

ตัวเลือกที่ 2 :

ตัวเลือกที่ 3 :

ตัวเลือกที่ 4 :

ข้อที่ 18.


ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 19. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับตารางธาตุ
ตัวเลือกที่ 1 : ตารางธาตุในปัจจุบันเรียงตามน้ำหนักอะตอม ตามหลักของดิมิทรีอิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ
ตัวเลือกที่ 2 : ธาตุในหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
ตัวเลือกที่ 3 : ธาตุแทรนซิชัน เป็นกึ่งโลหะ
ตัวเลือกที่ 4 : พันธะโคเวเลนซ์ เกิดจากการให้และรับอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม

ข้อที่ 20. ธาตุชนิดหนึ่ง มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาก เกิดสารประกอบกับโลหะ เป็นโลหะเฮไลด์ สามารถรับอิเล็กตรอนได้อีก1 อนุภาค ธาตุนี้น่าจะเป็นธาตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : โซเดียม
ตัวเลือกที่ 2 : ฮีเลียม
ตัวเลือกที่ 3 : อะลูมิเนียม
ตัวเลือกที่ 4 : คลอรีน

ข้อสอบ PAT 2



















3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ



      จากการที่สารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะมีสมบัติเฉพาะตัวมาว่าการที่ต่างกันจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ตามความเหมาะสม เช่น
- แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉาย
- พอลิไวนิลคลอไรด์หรือ PVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
- ซิลิกอนคาร์ไบด์ เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมากจึงนำไปใช้ทำเครื่องบด
- ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร เช่น หม้อ กะทะ

สารอันตราย

พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. สนธิกำลังสาธารณสุข จ.เชียงราย เข้าค้นพื้นที่เป้าหมายที่คาดเป็นแหล่งเก็บสาร “ไซบูทรามีน” ...